• PREVIOUS

  • PREVIOUS

  • PREVIOUS

  • PREVIOUS

น้อมเกล้าฯ ถวายข้าวหอมมะลิอินทรีย์แด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2557 คณะผู้บริหาร บริษัท สยามเกรนส์ จำกัด และพลเอกพิเชษฐ์ วิสัยจร ได้รับพระวโรกาสจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายข้าวหอมมะลิอินทรีย์เพื่อทรงใช้ ในการพระราชกุศลตามอัธยาศัย จำนวน 30,000 กิโลกรัม นับเป็นสิริมงคลยิ่งแก่บริษัทฯ และบ้านสมพรรัตน์ ต.นาสะโน อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี ชุมชนที่ปลูกข้าวอินทรีย์มานานกว่า 18 ปี

ประวัติข้าวหอมมะลิอินทรีย์ บ้านสมพรรัตน์ ต.นาสะโน อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี

เริ่มต้นจากปี 2537 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้โปรดรับ กลุ่มเกษตรกร จากบ้านสมพรรัตน์เข้าเป็สมาชิกศูนย์ศิลปาชีพใน พระบรมราชินูปถัมภ์ โปรดเกล้าพระราชทานเงินทุนทอผ้าไหม ซึ่งผ้าไหมจากบ้านสมพรรัตน์นั้นได้รับรางวัลอย่างต่อเนื่อง

หลังจากนั้น 2 ปี พลเอกพิเชษฐ์ วิสัยจร ได้ริเริ่มโครงการเศษฐกิจพอเพียง ในหมู่บ้านจึงมีการทำนาเกษตรปลอดภัย เลิกใช้สารเคมี และใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติ แต่ในข่วงแรก ข้าวหอมมะลิอินทรีย์จากที่นี่ ยังไม่มีมาตรฐานรองรับ และไม่สามารถหาตลาดจำหน่ายได้

จากนั้นในปี 2542 กรมวิชาการเกษตรได้เข้ามารับรองความปลอดภัย จากสารเคมี และบริษัท สยามเกรนส์ จำกัด ได้เริ่มเข้ามาร่วมรับซื้อ ข้าวเปลือกจากเกษตรกรตั้งแต่นั้นมา โดยเป็นราคาที่สูงกว่าท้องตลาด เพื่อสนับสนุนให้เกษรกรทำเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้นเรื่อยๆ

จนถึงปี 2545 จึงได้มีการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรไร้สารเคมี จ.อุบลราชธานี และได้ขอการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (IFOAM) ทำให้มีตลาดมารองรับ และบริษัท สยามเกรนส์ จำกัด ก็รับซื้อข้าวเปลือกจากหมู่บ้านสมพรรัตน์ ที่สีโดยโรงสีอินทรีย์ธัญญาเทพ ในความดูแลของพลเอกพิเชษฐ์ วิสัยจร มาทุกปีอย่างสม่ำเสมอ

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ที่ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ริเริ่มโครงการที่ทำให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ สุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นับเป็นเวลา 17 ปีต่อเนื่องมาแล้ว

จากงานแถลงข่าว 29 สิงหาคม 2556 13.00-15.00 น. ห้อง Executive 1+2 ชั้น B โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส

สยามเกรนส์ ปรับปรุงกระบวนการผลิตอัตโนมัติ และแขนหุ่นยนต์ซื้อใจลูกค้า พร้อมบุกตลาดเกิดใหม่ในแอฟริกา ยันข้าวไทยมาตรฐานระดับโลก คุณภาพสูง รสชาติดี

นายกิติพันธุ์ เหล่าประภัสสร ผู้จัดการฝ่ายการขาย บริษัท สยามเกรนส์ จำกัด ผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิชั้นนำรายหนึ่งของโลก เปิดเผยถึงการปรับตัวเพื่อรักษา และขยายตลาดข้าวหอมมะลิส่งออกว่า “สยามเกรนส์ เป็นผู้ส่งออก ข้าวหอมมะลิชั้นนำจากประเทศไทย ที่มีประวัติการทำธุรกิจที่ไว้วางใจได้มาตลอด โดยเริ่มจากโรงสีข้าว ในจังหวัดเชียงรายมากว่า 60 ปี และเริ่มทำธุรกิจส่งออกข้าวมาเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี ทำให้ลูกค้าให้ความเชื่อมั่นในตัวบริษัทฯ และสินค้าเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพสูง และมีความน่าเชื่อถือ ไว้วางใจได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ จึงมีแผนงานปรับปรุงพัฒนาในหลายด้าน เพื่อรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ โดยตั้งงบลงทุนในปีนี้กว่า 50 ล้านบาท ซึ่งงบนี้จะถูกนำไปพัฒนาในหลายส่วน เริ่มตั้งแต่การปรับปรุงกระบวนการผลิตและจัดส่งที่ทันสมัย การตรวจสอบคุณภาพสินค้า การคัดสรรคุณภาพของข้าว โดยเน้นข้าวที่มีแหล่งที่มาจากนาในพื้นที่ต้นน้ำ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ รวมถึงการบุกเบิกตลาดใหม่” นายกิติพันธุ์กล่าว

“เรื่องการปรับปรุงพัฒนากระบวนการการผลิตและจัดส่งสินค้า เกิดจากความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ที่เน้นให้ความสำคัญในความพึงพอใจ สูงสุดของลูกค้าเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น การนำระบบการบรรจุข้าวแบบอัตโนมัติ และแขนหุ่นยนต์มาใช้จัดเรียงสินค้า (Full-line Automatic Weighting , Packing and Robotic Palletizer) โดยสยามเกรนส์เป็นรายแรกในประเทศ สำหรับสินค้าข้าว ที่นำระบบนี้มาใช้ เพื่อแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน เนื่องจากแรงงานของทางบริษัทฯ เป็นแรงงานไทยทั้งหมด และเนื่องจากลูกค้าต่างประเทศจะมีระบบจัดเก็บและจัดส่งสินค้าที่เป็น Pallet สยามเกรนส์จึงปรับปรุงพัฒนาสถานที่และระบบการจัดวาง และจัดส่งสินค้าเพื่อให้สะดวกในการที่ลูกค้าจะลำเลียงสินค้า ออกจากตู้สินค้า จัดเก็บได้อย่างรวดเร็ว และขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ปลายทาง ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายเป็นอย่างดี จากเดิมหากใช้คนงาน 2 คน เพื่อลำเลียงสินค้าออกจากตู้และจัดเรียงบน Pallet จะใช้เวลาประมาณ 2.30-3 ชั่วโมง ด้วยระบบใหม่จะเหลือเพียง 30 นาทีเท่านั้น ทำให้ช่วยประหยัดค่าแรงซึ่งเป็นต้นทุนที่สำคัญส่วนหนึ่งสำหรับประเทศที่มีต้นทุน แรงงานสูงอย่างสหรัฐอเมริกา อีกทั้ง ในปัจจุบัน เราสามารถผลิตและจัดส่งสินค้า ได้อย่างรวดเร็วภายใน 7 วัน หลังจากที่ได้รับใบสั่งซื้อ สร้างความประทับใจให้ลูกค้าเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ บริษัทฯ กำลังอยู่ในระหว่าง ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ดูทันสมัยยิ่งขึ้น เพื่อให้สะท้อนภาพลักษณ์ ความเป็นข้าวหอมมะลิคุณภาพสูงของประเทศไทย รวมทั้งเพิ่มตรารับรองจากทาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อรับรองความปลอดภัย ในข้าวทุกถุง โดยคาดว่าบรรจุภัณฑ์ใหม่จะออกสู่ตลาดภายใน 2 เดือน” นายกิติพันธุ์กล่าว

เรื่องคุณภาพที่ไว้วางใจได้นั้น เป็นจุดที่ลูกค้าในตลาดที่พัฒนาแล้ว อย่างอเมริกาให้ความสำคัญอย่างมาก สยามเกรนส์ จึงให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานที่เป็นไปตามมาตรฐานโลก คุณภาพของข้าวต้องไม่มีข้อสงสัยใดๆ สามารถส่งออกได้ ภายใน 7 วันหลังจากมีการสั่งซื้อ

นอกจากตลาดส่งออกหลักๆ สยามเกรนส์ยังขยายฐานลูกค้าไปตลาดเกิดใหม่ ที่มีความต้องการข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะประเทศในทวีปแอฟริกา ตะวันตก เช่น กาบอง กาน่า และแองโกลา ซึ่งในช่วงหลายปีหลัง มีความต้องการบริโภคข้าวหอมมะลิไทยมากขึ้น

ข้าวโคโค่ใช้ถุงพลาสติกคุณภาพสูงหนาพิเศษ พร้อมหูหิ้วในตัว ในการบรรจุข้าวสารทุกถุง

เพื่อรักษาข้าวสารในถุงให้คงคุณภาพที่ดีเราจึงเลือกใช้ถุงพลาสติกหนาพิเศษ ที่มีคุณสมบัติเหนียวมาก และโปร่งใส เหมาะกับการบรรจุอาหาร และใช้เทคโนโลยีในการควบคุมปริมาณออกซิเจนในแต่ละถุง คล้ายการบรรจุแบบสุญญากาศ ช่วยในการรักษาและยืดอายุของข้าวสาร และป้องกันมอดแมลงต่างๆ พร้อมมีหูหิ้วในตัว สะดวกในการถือ และยังช่วยสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ถึง 2 ถุง ที่ต้องใช้ซ้อนกันเพื่อรับน้ำหนักข้าวสาร 1 ถุง

โคโค่ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารเคมี บ้านสมพรรัตน์ จ.อุบลราชธานี

ประวัติข้าวหอมมะลิอินทรีย์ บ้านสมพรรัตน์ ต.นาสะโน อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี ใน ปี 2537 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้โปรดรับกลุ่มเกษตรกรบ้านสมพรรัตน์ เข้าเป็นสมาชิกศูนย์ศิลปาชีพในพระบรมราชินูปถัมภ์ ซึ่งได้โปรดเกล้าพระราชทานเงินทุน ทำการส่งเสริมการทอผ้าไหมภายในหมู่บ้าน ซึ่งผ้าไหมที่ทอจากบ้านสมพรรัตน์นั้น ได้รับรางวัลมากมายตลอดหลายปี

ปี 2539 เริ่มมีโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ทำนาแบบปลอดภัยไร้สารเคมี นำโดย พลเอกพิเชษฐ์ วิสัยจร เป็นผู้ส่งเสริม ให้ความรู้ข้อมูลแก่เกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ โดยเริ่มที่บ้านสมพรรัตน์ จ.อุบลราชธานี ซึ่งในช่วงแรกข้าวหอมมะลิเกษตรอินทรีย์ ยังไม่มีมาตรฐานมารองรับ แต่เมื่อปี 2542 กรมวิชาการเกษตรได้เข้ามารับรองข้าวหอมมะลิจากบ้านสมพรรัตน์ ว่าเป็นข้าวหอมมะลิปลอดสารเคมี ทางบริษัทฯ จึงได้เริ่มเข้ามามีส่วนร่วมรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรนับแต่นั้นมา โดยเป็นราคาที่สูงกว่าราคาตลาด เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาทำนาแบบไร้สารเคมีกันมากขึ้น เพื่อความปลอดภัย และชีวิตที่ยั่งยืน ทั้งกับตัวเกษตรกร และผู้บริโภค โดยในช่วงแรกนี้ได้นำข้าวเปลือกไปทำการสีที่โรงสีข้าว ที่ค่ายทหารราบ ร.พัน 6 อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

ต่อมาปี 2545 ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรไร้สารเคมี จ.อุบลราชธานีขึ้น และดำเนินการขอการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (IFOAM) เพื่อเป็นการยกระดับการผลิตและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เกษตรกรเอง และผู้บริโภค ซึ่งในช่วงนั้น โรงสีธัญญาเทพ ในความดูแลของ พลเอกพิเชษฐ์ วิสัยจร ได้รับการรับรองว่าเป็นโรงสีที่มีมาตรฐานการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ด้วยเช่นกัน ก็ได้เข้ามาเป็นผู้สีแปรรูปข้าว ให้กับบริษัท สยามเกรนส์ จำกัด จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลารวมกว่า 15 ปี

นับตั้งแต่มีโครงการศิลปาชีพ ในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และการส่งเสริมการทำเกษตรแบบพอเพียง โดยเน้นการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ทำให้เกษตรกรที่บ้านสมพรรัตน์ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก มีต้นทุนการผลิตลดลง มีสุขภาพดีขึ้น สิ่งแวดล้อมรอบหมู่บ้านดีขึ้น และยังอุดมสมบูรณ์มากขึ้นด้วย มี กบ เขียด กุ้ง และปลา มาอาศัย เป็นแหล่งอาหารที่ปลอดสารพิษของคนในหมู่บ้าน

และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ข้าวหอมมะลิอินทรีย์คุณภาพดี จากหมู่บ้านสมพรรัตน์ เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น นำชื่อเสียงและรายได้มาสู่เกษตรกรในหมู่บ้าน บริษัท สยามเกรนส์ จำกัด จึงมีการส่งเสริมการทำเกษตรแบบพอเพียง โดยเน้นการทำนาข้าวแบบเกษตรปลอดภัย ให้ลดละเลิกการใช้สารเคมี และหันมาใช้ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักจากธรรมชาติ อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนเกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ เพื่อให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น

ข่าวจาก นสพ.ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 7 สิงหาคม 2556

ความจริง “สารเมธิลโบรไมด์” รมข้าวได้ปลอดภัย ไร้กังวล

ผลพวงนโยบาย “รับจำนำข้าว” หรือพูดกันในทางปฏิบัติจริง คือ รับซื้อข้าวทุกเมล็ดสูงกว่าราคาตลาด ก่อให้เกิดกระแสว่า ข้าวไทยขายไม่ออก ต้องเก็บค้างสต็อกจำนวนมหาศาล จนต้องใช้สาร “เมธิลโบรไมด์” (Methyl bromide) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาฉีดพ่นรมควันข้าว เพื่อป้องกันมอดและแมลงต่างๆ

ประเด็นดังกล่าว สร้างความหวาดผวาในวงกว้างต่อเนื่องว่า สารเมธิลโบรไมด์ จะปนเปื้อนมากับข้าว โดยเฉพาะหากนำข้าวไปบรรจุถุง เท่ากับผู้บริโภคกำลังรับประทานสารพิษเข้าสู่ร่างกายโดยตรง

อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว กระบวนการเก็บรักษาข้าว ใช้สารเมธิลโบรไมด์ รมควันข้าวเป็นปกติอยู่แล้ว และใช้กันมายาวนานหลายสิบปี ไม่ใช่ว่าเพิ่งจะมาใช้แก้ปัญหาข้าวไทยค้างสต็อกเฉพาะกรณีนี้ อีกทั้งผู้ผลิตข้าวทั่วโลก ก็ใช้สารเมธิลโบรไมด์ เพื่อป้องกันมอดและแมลงเช่นกัน

อีกทั้งประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ถูกกำหนดจากมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures-SPS) ภายใต้ข้อตกลงขององค์การการค้าโลก หรือ WTO ให้รมข้าวก่อนส่งออกทุกครั้ง เพื่อป้องกันมอดแมลงต่างๆ ติดค้างเข้าไปยังประเทศผู้ซื้อด้วย

ดังนั้น ประเด็นสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ข้าวบรรจุถุงที่ผู้บริโภคซื้อหามารับประทานในชีวิตประจำวันนั้น ใช้สารเมธิลโบรไมด์ รมควันหรือไม่ แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่กระบวนการรมข้าวนั้น ทำได้ถูกต้องหรือไม่ และใช้ปริมาณที่ถูกต้องตามเกณฑ์ของหน่วยงานที่ดูแลหรือไม่ต่างหาก

โดยเกณฑ์มาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (CODEX) ที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO กำหนด จะมีสารเมธิลโบรไมด์ ตกค้างในข้าวสารได้ไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ppm)

ขณะที่ประเทศไทย มีมาตรฐานป้องกันสารพิษตกค้างในข้าวอย่างใกล้ชิด โดย นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยถึงกำหนดสารพิษตกค้างสูงสุดในข้าว (Maximum Residue Limit : MRL) ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 2) ตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการอาหารแล้ว กำหนดให้สารไฮโดรเจนฟอสไฟด์ มีปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดไม่เกิน 0.1 ppm สารเมธิลโบรไมด์ ไม่เกิน 0.01 ppm โบรไมด์ไอออน ไม่เกิน 50 ppm และสารซัลฟูริลฟลูออไรด์ ไม่เกิน 0.1 ppm

จะเห็นได้ว่า เกณฑ์ป้องกันสารเมธิลโบรไมด์ ตกค้างในข้าวของประเทศไทย ที่ไม่เกิน 0.01 ppm สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากล CODEX ที่ไม่เกิน 5 ppm เสียอีก ดังนั้นการเอาใจใส่สุขภาพคนไทยของหน่วยงานในไทย ไม่ได้ด้อยกว่าสากลแต่อย่างใด

ขณะที่ในตัวสารเมธฺลโบรไมด์เองแล้ว จะย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ เพียงเปิดไว้ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หรือในขั้นตอนซาวข้าว และหุงข้าว ก็จะทำให้สารเมธิลโบรไมด์ สูญสลายไปจนหมด

นอกจากนั้นที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกยังไม่เคยมีรายงานชัดเจน ถึงผลกระทบของสารชนิดนี้ต่อสุขภาพผู้บริโภค แถมบางรายงานขององค์การอนามัยโลกยังระบุว่า หากได้รับในปริมาณพอเหมาะจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย เช่น ช่วยแก้ปัญหานอนไม่หลับ หรือโรคอินซอมเนีย (Insomnia) เป็นต้น

จากข้อมูลดังกล่าว ยืนยันได้ว่าสารเมทิล โบรไมด์ ถ้าทำวิธีถูกต้อง ใช้ปริมาณเหมาะสมก็ไม่ได้เป็นสารอันตราย สามารถใช้รมควันข้าวได้อย่างปลอดภัย ทว่าที่น่าเป็นกังวลคือ ความไม่รู้ข้อเท็จจริงของผู้บริโภค แล้วนำไปพูดต่อเชิงลบ ในที่สุดผลเสียหายย่อมกลับมาสู่ข้าวไทยเอง

สุดท้ายผู้ที่รับผลกรรมนี้ คงหนีไม่พ้นผู้ประกอบการข้าวถุง ที่ต้องตกเป็นเหยื่อจากข้อมูลอันเป็นความเข้าใจผิดเหล่านี้ และหนึ่งในนั้นคือ ผู้ผลิตข้าวถุงยี่ห้อโคโค่ ที่นำข้าวไทยคุณภาพเยี่ยมประกาศศักดาบนเวทีโลกมาแล้วหลายปี ทั้งที่ข้าวโคโค่ ไม่เคยร่วมในโครงการจำนำข้าว หรือซื้อข้าวจากคลังของรัฐบาล ต้องถูกผู้บริโภคจำฝังลึกว่าเป็นข้าวมีสารปนเปื้อนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งที่ออกมาน้อมรับความผิด ยินดีแก้ไขปัญหาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้บริโภคแล้วก็ตาม


บริษัท เสถียรรุ่งเรื่อง มาร์เก็ตติ้ง จำกัด
9/1 อาหารพลับพลาไชย อาคาร 3
ห้องเลขที่ 332 ชั้น 3 แขวงป้อมปราบ
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100

โทรศัพท์ : +66(0) 2226 1214-6
โทรสาร : +66(0) 2225 2200

อีเมล : sathien@siamgrains.com

เว็บไซต์ : www.kokorice.com





CAPTCHA